จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความหมายและความสําคัญของจริยธรรม


  • หลักของความถูกต้องและไม่ถูกต้อง ซึ่งถูกใช้เป็นตัวแทนของหลักในการปฏิบัติตนของบุคคล
  • ความสัมพันธ์ของหลักทางศีลธรรม อันได้แก่ ความดีและความชั่ว ความถูกต้องและไม่ถูกต้อง หรือหน้าที่และกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม
  • เป็นศาสตร์แขนงของ " ปรัญชา" ที่เกี่ยวข้องกับหลักในการปฏิบัติตนของมนุษยืที่อยู่รวมกันในสังคมหรือหมู่คณะใดๆ
          ดังนั้น "หลักจริยธรรม" จีงเป็นกฏเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เพื่อสร้างความเป็นระเบียนเรียบร้อยของคนในสังคม


  • จริยธรรม  เป็นหลักประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคมใดๆ                                                            
  • ศีลธรรม  เป็นการประพฤติที่ดีที่ชอบ เป็นการประพฤติปฏิบัติในทางศาสนา
  • จรรยบรรณ  เป็นการประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและสร้างเสริมเกียรติ




ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ


จริยธรรมทางธุรกิจ  (Business Ethics)
  • หลักและมาตรฐานด้านศีลธรรม ที่ชี้นำพฤติกรรมในโลกธุรกิจ เพื่อตัดสินใจของแต่ละบุคคลภายในบททาทขององค์การภายใต้ข้อขัดแย้ง
  • การนำหลักธรรมจริยธรรมมาประยุตก์ใช้เป็นเครื่องชึ้นำกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร


จริยธรรมทางธุรกิจสําคัญอย่างไร


หากองค์กรดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม จะทำให้เกิดผลดี 5 ประการ ดังนี้

  1. ได้ค่านิยมหรือมีความนิยมเพิ่มมากขึ้น = องค์กรที่มีจริยธรรมทางธุรกิจ จะมีความนิยมเพิ่มขึ้น การดำเนินธุรกิจก็จะง่ายขึ้น มีโอกาสได้รับแต่สิ่งที่ดีที่สุด  
  2. การดำเนินงานในองค์กรมีความสอดคล้องกัน = องค์กรที่มีจริยธรรมทางธุรกิจ จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ถือประโยชน์ร่วมกันได้หลายฝ่าย  เช่น พนักงาน ลูกค้า  ผู้ถือหุ้น หรือชุมชน ซึ่งเมื่อแต่ละฝ่ายต่างๆด้รับการตอบสนองที่ดีแล้ว ย่อมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการดำเนินงาน
  3. เพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจ = การมีจริยธรรมที่ดีทางธุรกิจ ทำให้ธุรกิจดีไปด้วย ยังส่งผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้น เช่น การให้บริการลูกค้า ด้วยความยุติธรรม จะสามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้นาน และมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
  4. ป้องกันองค์กรและพนักงานจากการดำเนินการทางกฎหมาย = องค์กรควรดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรมอันดี และไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยองค์กรสามารถจัดตั้งโครงการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรจกิจ  ดังนี้  กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและจะต้องมีจริยธรรมอันดี
  5. หลีกเลี่ยงข่าวในแง่ลบได้ = หากองค์กรมีชื่อเสียงในทางที่ดี จะช่วยให้มูลค่าหุ้นขององค์กรเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากองค์กรมีชื่อเสียงในแง่ลบก็จะส่งผลให้มูลค่าหุ้นลดต่ำทันที


การเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจในองค์กร


    ความเสี่ยงของพฤติกรรมที่ขัดกับหลักจริยธรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่องค์กร ดังนั้นหลายองค์กรในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ ด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร  =  เจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร คือ ผู้จัดการระดับอาวุธโส ทำหน้าที่ กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางเกี่ยวกับหลักปฏิบัติขอองธุรกิจ  โดยทำหน้าที่บูรณาการจริยธรรมขององค์กร นโยบาย กิจกรรมการปฏิบัติตามกฏหมาย ให้เข้ากับกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินงานทุกระดับขององค์กร
  • กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม = การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจขององค์กรดำเนินด้วยความโปร่งใส ปฏิบัติตามกฏหมายและข้อบังคับทางอุตสาหกรรม 
  • กำหนดจรรยาบรรณขององค์กร = เป็นการประกาศประเด็นด้านจริยธรรมและระบุหลัักการปฏิบัติที่สำคัญต่อองค์กรและการตัดสินใจในระดับต่างๆ  ควรเน้นในเรื่องของความเสี่ยงด้านจริยธรรมทางธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในแต่ละวัน
  • ให้มีการตรวจสอบทางสังคม = เป็นการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมทางสังคมขององค์กรโดยองค์กรจะต้องรายงานผลการดำเนินกิจกรรมทางสังคมให้แก่บุคลากรทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นพนักงาน นักลงทุน ผู้ถือหุ้น และประชาชนทั่วไป
  • กำหนดเงื่อนไขทางจริยธรรมไว้ในแบบประเมินพนักงาน = เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายจริยธรรมทางธุรกิจ บางองค์กร อาจเพิ่มเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในแบบประเมินพนักงาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดจริยธรรม


แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลกระทบต่อจริยธรรม


   ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเด็นด้านจริยธรรมได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มดังกล่าว ทำให้กฎหมายล้าสมัย โดยแนวโน้มของเทคโนโลยีสำคัญที่เป็นสาเหจุหลักได้แก่ 

  • ขีดความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้น = องค์กรส่วนใหญ่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจหลักขององค์กรมากขึ้น  ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับระบบต้องพึ่งพาระบบมากขึ้น
  • ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้อมูล = ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้อมูล และ ราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการกระจายตัวอย่างมากมายของฐานข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
  • ควาก้าวหน้าในการวิเคราะห์ข้อมูล = เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศ ช่วยให้องค์กรสามารถปะติดปะต่อ และรวบรวมข่าวสารทีี่เก็บรักษาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย
  • ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต = สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลในปริมาณที่สูงมาก โดยใช้ระยะเวลาที่สั้นมาก

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศกับพฤติกรรมที่ขัดหลักจริยธรรม


  • ด้วยอิทธิพลของเทคโนโยีอนเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ ทำให้หลายองค์กรมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลของลูกค้าอย่างเหมาะสม การรักษาความลับของลูกค้า ตลอดจนการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น
  • นอกจากี้ยังรวมถึงประเด็นการหาผู้รับผิดชอบเมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายจากหารใช้ระบบสารสนเทศในทางที่ผิด

จริยธรรมสำหรับผู้ใช้ไอที


  1. การละเมิดสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software Piracy)  คือ การทำซ้ำหรือดัดแปลง การเผยแพร่ซอฟต์แวร์ต่อสาธรารณะชน การให้เข้าต้นฉบับหรือสำเนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนการแสวงหากำไรจากซอฟต์แวร์ โดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือโดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายตามลิขสิทธิ์ที่กำหนดไว้
  2. การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม  คือ  การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ในเวลางาน เข้าเว็บไซต์ลามก อนาจาร การดาวน์โหลดภาพยนต์ เพลง หรือซอฟต์แวร์ โดยใช้อินเทอร์เน็ตขององค์กรในเวลาทำงาน
  3. การแบ่งปันสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม คือ ผู้ใช้งานไอทีและผู้ใช้ทั่วไป มักมีการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกันอยู่เสมอ เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่แลกเปลี่ยนกัน บางครั้งเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูุลส่วนบุคคลของลูกค้า เป็นต้น

บัญญัติ  10  ประการ ในการใช้คอมพิวเตอร์



  1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำอันตรายต่อผู้อื่น
  2. ต้องไม่แทรกแซงหรือรบกวนงานคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
  3. ต้องไม่สอดแนมไฟล์คอมพิวเตอร์
  4. ต้องไม่ไใช้คอมพิวเอตร์ลักขโมย
  5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพยานเท็จ
  6. ต้องไม่คัดลอกหรือใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธ์โดยไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์
  7. ต้องไม่ใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ
  8. ต้องไม่ละเมิลสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
  9. ต้องตรหนักถึงผลที่ตามมาต่อสังคมที่เกิดจากโปรแกรมที่ตัวเองเขียนหรือกำลังออกแบบอยู่เสมอ
  10. ต้องใช้คอมพิวเอตร์ในทางที่พิจารณาดีแล้วว่าเหมาะสมและเคารพต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกันเสมอ