อาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต


อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 

(Computer Crime)


     เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหรือกระทำที่ผิดกฏหมายก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์นั้นสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องมือในการกระทำผิดกฏหมายและเป็นเป้าหมายในการทำลายได้  เช่น  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักลอบข้อมูลของบริษัท

    ผู้ใดกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์และผู้เสียหายมีการฟ้องร้องดำเนินคดี ผู้นั้นจะต้องรับโทษตาม "พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550"

   การใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ผิด

(Computer Abuse)

   เป็นการกระทำผิดต่อจริยธรรม ศีลธรรม หรือจรรยาบรรณ โดยการกระทำดังกล่าวอาจไม่ผิดกฏหมายก็ได้ แต่อาจสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เช่น การส่งอีเมลแบบ Spam เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ได้รับอีเมล


สาเหตุเพิ่มจำนวนของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

  • เทคโนโลยีมีความซับซ้อนมากขึ้น  เทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย, เว็บไซต์, โครงสร้างคอมพิวเตอร์
  • ความคาดหวังของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มากขึ้น  คือ คาดหวังคอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างรวดเร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการ เนื่องจากหากคอมพิวเตอร์ทำงานได้รวดเร็วเท่าใด ยอมหมายถึงผู้ใช้ที่มากขึ้น
  • การขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงของระบบคอมพิวเตอร์  การเปลี่ยนแปลงจากระบบ Stand-alone ไปเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกเชื่อมต่อกันได้ สามารถแบ่งปันข้อมูล สารสนเทศซึ่งกันและกันได้
  • การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีช่องโหว่เพิ่มมากขึ้น  ซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนามาจำหน่ายมักพบว่ามีช่องโหว่ภายหลังจากการใช้งาน  เช่น  ช่องโหว่ที่พบในโปรแกรม Microsoft Windows Vista, RealPlayer Media  เป็นต้น

ประเภทของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์


  • อาชญากรรมนำเอาสื่อสารผ่านทางคอมพิวเตอร์มาขยายความสามารถในการกระทำความผิดของตน
  • การละเมิดลิขสิทธิ์ การปลอบแปลง ไม่ว่าจะเป็นการปลอบแปลงเช็ค การปลอบแปลงรูป เสียง หรือการปลอบแปลงสื่อทางคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า "มัลติมีเดีย"
  • การฟอกเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเป็นเครื่องมือทำให้สามารถกลบเกลื่อนอำพลางตัวตน
  • อัธพาลทางคอมพิวเตอร์หรือพวกก่อการร้าย เป็นอาชญากรรมเท่านั้นที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นเพื่อรบกวนผู้ใช้บริการ และเข้าไปแทรกแซงระบบของผู้อื่น
  • การค้าขายหรือชวนลงทุนโดยหลอกลวงผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • การเข้าแทรกแซงข้อมูลและนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ตนเองโดยมิชอบ

ปัญหาที่เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

  • ปัญหาเรื่องความยากที่จะตรวจสอบว่าจะเกิดเมื่อไร ที่ไหน อย่างไร ทำให้ยากที่จะป้องกัน
  • ปัญหาในเรื่องการพิสูจน์การกระทำความผิด และการตามรอยของความผิด โดยเฉพาะความผิดที่เกิดขึ้นโดยผ่านอินเทอร์เน็ต
  • ปัญหาการรับฟังพยานหลังฐาน ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากหลักฐานในอาชญากรรมธรรมดา
  • ความยากลำบากในการบังคับใช้กฏหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชญากรรมเหล่านี้มักเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ
  • ปัญหาความไม่รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม
  • ปัญหาการขาดกฏหมายที่เหมาะสมในการการบังคับใช้กฏหมายแต่ละฉบับบ บัญญัติมานาน 40-50 ปี
  • ปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากจนทางราชการตามไม่ทัน

แนวทางการแก้ไข

  • ควรมีการวางแผนแนวทางและกฏเกณฑ์ในการดำเนินรวบรวมพยานหลังฐาน
  • ให้มีคณะทำงานในคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์พนักงานสอบสวนและอัยการอาจมีความรู้ความชำนาญด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
  • จัดการหน่วยงานเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
  • บัญญัติกฏหมายเฉพาะเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
  • สร้างเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ
  • เผยแพร่ความรู้เรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยงาน องค์กรต่างๆ
  • ส่งเสริมจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์


มารยาทในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  • ไม่ใช้เครือข่ายเพื่อการทำร้ายหรือรบกวนผู้อื่น
  • ไม่ใช้เครือข่ายเพื่อการทำผิดกฏหมาย หรือผิดศีลธรรม
  • ไม่ใช้บัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้อื่น
  • ไม่คัดลอกโปรแกรม รูปภาพ หรือสิ่งใดบนอินเทอร์เน็ต
  • ไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบของหน่วยงานหรือบริษัทที่ท่านใช้บริการอินเทอร์เน็ต
  • ไม่เจาะระบบเครือข่ายของตนเองแลผู้อื่น
  • การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต ต้องกระทำด้วยความสุภาพเคารพ
  • หากพบรูรั่วของระบบ พบเบาะแส หรือบุคคลที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยที่อาจเป็นอันตราย ให้รีบแจ้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทันที
  • เมื่อจะเลิกใช้ระบบอินเทอร์เน็ตอย่างถาวร ให้ลบข้อมูลและแจ้งผู้ดูแลระบบ
 

การหลีกเลี่ยงและรับมือกับภัยออนไลน์

  • หลีกเลี่ยงการะบุชื่อจริง เพศ หรือายุ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต
  • หลีกเลี่ยงการสร้างข้อมูลส่วนตัว ภาพถ่ายของตนเองหรือบุคคลในครอบครัว
  • หลีกเลี่ยงการโต้ตอบกับบุคคลหรือข้อความที่ให้รู้สึกอึดอัด
  • หลีกเลี่ยงการสั่งซื้อสินค้าหรือสมัครสมาชิก โดยไม่อ่านเงื่อนไขให้ละเอียด
  • ไม่คัดลอกโปรแกรม ข้อมูล รูปภาพ หรือสิ่งใดจากอินเทอร์เน็ต




คลิป  "จอมโจรในโลกไซเบอร์"



Hacker ผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ฝ่าย

  1. WhitcHat Hacker = ผู้ที่ทำหน้าคอยดักช่องโหว่ของระบบ ไม่ได้เจาะข้อมูลของระบบ
  2. BlackHat Hacker = ผู้ที่ทำหน้าที่ดักจับข้อมูลส่วนตัวของเรา บางครั้งอาจทำลายระบบหรือสร้างไวรัสเพื่อดักข้อมูล

วิธีป้องกัน
  1. หมันอัพเดทโรแกรม
  2. การสแกนอุปกรณ์เก็บข้อมูล
  3. ติดตั้งไฟล์วอล์
  4. ระมัดระวังการเล่นอินเทอร์เน็ต
  5. ฝึกตัวเองให้เป็นคนรอบคคอบ
  6. ติดตามข่าวสารอยู่ตลอด

     การเล่นอินเทอร์เน็ตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราควรระมัดระวังในการใช้เทคโนโลยีให้มาก ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนที่ไม่รู้จักและควรศึกษาข้อมูลในการใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือเข้าเว็บไซต์ในแต่ละครั้ง















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น