ทรัพย์สินทางปัญญา


ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)

          ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสิทธิทางกฎหมายที่มีอยูJเหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์  “ ผลงานอันเกิดจากการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ”


ประเภทของทรัพย์


    ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งได้2 ประเภท ดังนี้
 1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property) 
 2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)

          1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property) 
  • เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม
  • โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น หรือเทคนิคในการผลิตอึตสาหกรรม หรือที่ได้ปรับปรุง
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรท  สามารถแบ่งประเภทออกได้ดังนี้
  1. สิทธิบัตร (Patent)  หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณธตามที่กฎหมานกำหนด หรือ สิทธิพิเศษที่กฏหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์
  2. เครื่องมายการค้า (Trade Mark) เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ อาจเป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตาร ยี่ห้อ อาจกล่าวได้คือ ตราสินค้า หรือ ยี่ห้อสินค้า


  • เครื่องหมายสำหรับสินค้า (Goods Marks) คือตราสินค้าที่ติดอยู่กับตัวสินค้าเพื่อให้จดจำง่ายนั้นเอง ซึ่งเราได้พบเห็นอยู่กันทั่วไป เช่น ตราของโค้ก


  • เครื่องหมายบริการ (Service Mark) เครื่องหมายที่ใช้ในธุรกิจบริการ เช่น นกแอร์  ธนาคารทหารไทย



  • เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) เป็นเครื่องหมายที่รับรองคุณภาพของสินค้า เช่น แม่ช้อยนางรำ 

  • เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) เป็นเครื่องหมายที่ใช้ร่วมกับบริษัทในเครื่อง เช่น บริษัทปูนซิเมนต์ไทย




        3. ความลับทางการค้า (Trade Secrets) ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันทั่วไปหรือเข้าถึงไม่ได้ในหมูบุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าเนื่องจากเป็นความลับ                                                                                                                                       4. ชื่อทางการค้า (Trade Name) ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ เป็นต้น                                                                                                                                                        5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)  ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกแทนแหล่งภูมิศาสตร์ สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อสี่ยง เช่น ส้มบางมด ผ้าไหมไทย เป็นต้น

ลิขสิทธิ์ (Copyright)

   เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น "ทรัพย์สินทางปัะญญา" ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
  • งานวรรณกรรณ เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน 
  • งานนาฏกรรม เช่น การเต้น การทำท่า หรือ การแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว
  • งารศิลปกรรม เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์
  • งานดนตรีกรรม เช่น เนื่้องร้อง ทำนอง และรวมถึงโน้ตเพลง
  • งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอเทป
  • งานภาพยนตร์
  • งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง
  • งานเผยแพร่เสียง แพร่ภาพ เช่น การนำออกเผยแพร่ทางสถานีกระจายเสียง
  • งานอื่นใดอันเป็นผลงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาตร์ หรือ แผนกศิลปะ

สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
  • ข่าวประจำวัน
  • ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น
  • คำพิพากษา คำวินิจฉัย
  • คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ
สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
  • มีสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบ
  • การทำให้ปรากฎต่อสาธารณชนหรืออนุญาติให้ผู้อื่นใช้
อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
  • งานทั่วๆ ไป ลิขสิทธิ์มีตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  • งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ลิขสิทธิ์ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์ผลงาน
  • ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธาณะ บุคคลใดสามารถใช้งานนั้นๆ ได้โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
รูปแบบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  • การปลอมแปลง เป็นการผลิตที่มีการใช้วัสดึ รูปลักษณ์ ตราสินค้าที่เหมือนกับเจ้าของทุกประการ  เช่น การปลอมนาฬิกาโลเล็กซ์ เสื้อโปโล กระเป๋าหลุยส์
  • การลอกเลียนแบบ ฌเยที่ตัวสินค้ามีรูปร่างหน้าตาเหมือนสินค้าของเจ้สของผู้ผลิตแต่มีการปรับเครื่องหมายการค้าเล็กน้อย เช่น PRADA เป็น PRADO 
  • การลักลอบผลิต การลักลอบผลิต เทปผี ซีดีเถื่อน ซึ่งเราได้พบเห็นข่าวการลักลอบผลิตเป็นประจำ เช่น ซดีภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง 














สรุปคลิป "รู้ทันลิขสิทธิ์"
      ลิขสิทธิ์คือสทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำใดของผลงานที่ตนเองสร้างขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนก็ได้ ลิบขสิทธิ์สามารถแบ่งได้ 9 ประเภท คือ วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง  งานอื่นใดอันเป็นผลงานในแผนกวรรณคดี
  การละเมิดลิขสิทธิ์ คือ ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสารธาณณะชน โดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ที่กระทำต้องรับโทษทางอาญาและจ่ายค่าเสียให้กับเจ้าของผลงาน 

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
  • วิจัยหรือศึกษางานโดยไม่หวังผลกำไร
  • ใช้เพื่อตนเองและบุคคลในครอบครัว
  • ติชมหรือวิจารญ์โดยได้รับรู้ความเป็นเจ้าของ
  • รายงานข่าวโดยได้รับรู้ความเป็นเจ้าของ
  • เพื่อการพิจารณาของผู้มีอำนาจตามกฏหมาย

    



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น